เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง
เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา
ใช้ในการตรวจวัดและศึกษาสภาพอากาศประกอบการวางแผนปฏิบัติการ
นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย
ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวันจากกรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่
เครื่องวัดลมชั้นบน (pilot balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็วลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป
เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (radiosonde) เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ
ซึ่งจะติดไปกับบอลลูน
และเครื่องรับสัญญาณวิทยุซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น
ของบรรยากาศในระดับต่าง ๆ
เครื่องเรดาร์ตรวจอากาศ
ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณที่มีฝนตกและความแรง
หรือปริมาณน้ำฝนและการเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม.
ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว
ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย
เครื่องมือตรวจอากาศผิวพื้นต่าง ๆ เช่น
เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดความเร็วและทิศทางลม เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น
เครื่องมือเตรียมสารเคมี
ได้แก่เครื่องบดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและแบบผง
ถังและกรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น
เครื่องมือสื่อสาร
ใช้ในการติดต่อสื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบนเครื่องบินกับฐานปฏิบัติการ
หรือระหว่างฐานปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐานปฏิบัติงานสำนักงานฯ
ในส่วนกลางโดยอาศัยข่ายร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย
วิทยุเกษตร และกรมไปรษณีย์โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในปัจจุบัน
ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องโทรพิมพ์
เป็นต้น
เครื่องมือทางวิชาการอื่น ๆ เช่น
อุปกรณ์ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้องส่องทางไกล
เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ ฯลฯ
สถานีเรดาร์ฝนหลวง หรือ เรดาร์ดอปเปลอร์ (Doppler radar) ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์จำนวน
8 รายการนั้น เรดาร์ดอปเปลอร์จัดเป็นเครื่องมือที่มีมูลค่าสูงสุด
เรดาร์นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตามประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวงสาธิต
เครื่องมือชนิดนี้ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ (Microvax 3400)
ควบคุมสั่งการ เก็บบันทึก รวบรวมข้อมูล สามารถนำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก
ในรูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่านโพรเซสเซอร์ (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทปบันทึกข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาใช้ได้ตลอด
ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดยจอภาพ
สถานที่ตั้งเรดาร์ดอปเปลอร์นี้อยู่ที ่ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น